วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการจัดการกับการตัดสินใจ

ทฤษฎีการจัดการกับการตัดสินใจ

Henri Fayol ซึ่งเป็นชาวฝรั่งเศส ได้กล่าวถึงหน้าที่หลักในการจัดการ (management functions) ไว้ 5 ประการด้วยกันคือการวางแผน (planning) การจัดองค์การ (organizing) การประสานงาน (coordinating) การตัดสินใจ (deciding) และการควบคุม (controlling)
ที่ Mintzberg (ค.ศ. 1971) ได้กล่าวถึงบทบาททางการจัดการ (manegerial roles) ว่าเป็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้จัดการสมควรจะกระทำขณะปฏิบัติหน้าที่ภายในองค์การ โดยมีกิจกรรมเหล่านี้สามารถถูกจัดออกเป็น 3 กลุ่มคือ บทบาทระหว่างบุคคล (interpersonal roles) บทบาททางสารสนเทศ (informational roles) และบทบาททางการตัดสินใจ (decisional roles)

กระบวนการในการตัดสินใจ


ปัจจุบันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสื่อสารและโทรคมนาคมทำให้ข้อมูลข่าวสารสามารถเดินทางได้อย่างคล่องตัวและเป็นอิสระมากขึ้น ส่งผลให้องค์การต่าง ๆ สามารถรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารและข้อสนเทศได้ในระยะเวลาที่สั้นลง โดยข้อมูลมีความชัดเจน ถูกต้อง และสะดวกขึ้นด้วยเหตุนี้ ทำให้ธุรกิจในปัจจุบันมีความคล่องตัวในการดำเนินงานสูงขึ้นจนหลายคนถึงกับกล่าวว่าโลกธุรกิจในปัจจุบันหมุนเร็วกว่าโลกธุรกิจในอดีตมาก ทำให้การตัดสินใจในโอกาสหรือปัญหาทางธุรกิจที่เกิดขึ้นจะต้องการทำภายใต้ข้อจำกัดทางสารสนเทศภายในระยะเวลาที่เหมาะสม มีหลายครั้งที่ผู้บริหารจะต้องตัดสินใจอย่างรวดเร็วภายใต้ความกดดันของสถานการณ์ เช่น การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน การนัดหยุดงาน หรือการต่อต้านจากสังคม เป็นต้น จึงนับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้บริหารที่จะประสบความสำเร็จในอนาคตที่จะต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ตลอดจนต้องพยายามฝึกฝนตนเองโดยพัฒนาทักษะและสั่งสมประสบการณ์ในการตัดสินใจ เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์และตัดสินใจเลือกทางเลือกต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

ระดับของการตัดสินใจภายในองค์การ


ปกติเราสามารถแบ่งระดับชั้นของผู้บริหาร (management levels) ในลักษณะเป็นลำดับขั้น (hierachy) ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมพีระมิด (pyramid) ตามหลักการบริหารที่ใช้กันอยู่ทั่วไปซึ่งสามารถประยุกต์กับการจำแนกระดับของการตัดสินใจของผู้บริหารภายในองค์การ (levels of decision making) ได้เป็น 3 ระดับดังต่อไปนี้

ระดับ 1. การตัดสินใจระดับกลยุทธ์ (strategic decision making) เป็นการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงในองค์การ ซึ่งจะให้ความสนใจต่ออนาคตหรือสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น อันได้แก่ การสร้างวิสัยทัศน์องค์การ การกำหนดนโยบายและเป้าหมายระยะยาว การลงทุนในธุรกิจใหม่ การขยายโรงงาน เป็นต้น การตัดสินใจระดับกลยุทธ์มักจะเกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งต้องอาศัยข้อมูลจากทั้งภายนอกและภายในองค์การ ตลอดจนประสบการณ์ของผู้บริหารประกอบการพิจารณา กับการจัดการ เพื่อให้งานต่าง ๆ เป็นไปตามนโยบายของผู้บริหารระดับสูง เช่น การกำหนดยุทธวิธีทางการตลาด การตัดสินใจในแผนการเงินระยะกลาง หรือการแก้ไขปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหวัง

ระดับ 2. การตัดสินใจระดับยุทธวิธี (tactical decision making) เป็นหน้าที่ของผู้บริหารระดับกลาง โดยที่การตัดสินใจในระดับนี้มักจะเกี่ยวข้องเป็นต้น

ระดับ 3. การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ (operational decision making) หัวหน้างานระดับต้นมักจะต้องเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในระดับนี้ ซึ่งมักจะเป็นการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานเฉพาะด้านที่มักจะเป็นงานประจำที่มีขั้นตอนซ้ำ ๆ และได้รับการกำหนดไว้เป็นมาตรฐาน โดยที่หัวหน้างานจะพยายามควบคุมให้งานดำเนินไปตามแผนงานที่วางไว้ เช่น การมอบหมายงานให้พนักงานแต่ละคน การวางแผนควบคุมการผลิตระยะสั้น การวางแผนเบิกจ่ายวัสดุ และการดูแลยอดขายประจำวัน เป็นต้น



วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553